แผนเอกสารประกอบการสอน

แผนการจัดการเรียนรู้ (เอกสารประกอบการสอน)
โรงเรียนวัดคู้บอน    สำนักงานเขตคลองสามวา   กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ  สาระนาฏศิลป์                            ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  เรื่อง ระบำ รำ ฟ้อน และนาฏศิลป์พื้นบ้าน      เวลา ๑ ชั่วโมง  (ชั่วโมงที่ ๑)    สัปดาห์ที่       วันที่   ๗-๑๑  เดือน มิถุนายน  พ.ศ. ๒๕๕๓
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
มาตรฐาน ศ.๓.๑ เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตัวชี้วัด ป.๖/๓ แสดงนาฏศิลป์และละครง่ายๆ
มาตรฐาน ศ.๓.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตัวชี้วัด ป.๖/๑ อธิบายสิ่งที่มีความสำคัญต่อการแสดงนาฏศิลป์และละคร

สาระสำคัญ
                การแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้าน เป็นการแสดงที่มีความสวยงาม เป็นศิลปะที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทยและเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ทุกคนร่วมมือกันอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป

สาระการเรียนรู้
ความรู้
๑.      ความหมายของระบำ รำฟ้อน และนาฏศิลป์พื้นบ้าน
๒.    ความสัมพันธ์ระหว่างระบำ รำฟ้อน และนาฏศิลป์พื้นบ้าน
๓.     ประโยชน์ของการแสดงระบำ รำฟ้อน และนาฏศิลป์พื้นบ้าน
๔.     ลักษณะเด่นของการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านในแต่ละภูมิภาค
ทักษะ/กระบวนการ
๑.      อธิบายความหมายของระบำ รำฟ้อน และนาฏศิลป์พื้นบ้าน
๒.    อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบำ รำฟ้อน และนาฏศิลป์พื้นบ้าน
๓.     บอกประโยชน์ของการแสดงระบำ รำฟ้อน และนาฏศิลป์พื้นบ้าน
๔.     รู้และเข้าใจลักษณะเด่นของการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านในแต่ละภูมิภาค
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๑.      แสดงออกถึงความรู้สึกและความคิดเห็นเกี่ยวกับศิลปะการแสดงที่เกิดขึ้นในแบบต่าง   บนพื้นฐานความเข้าใจของการแสดงและสุนทรียภาพ
๒.    เกิดการยอมรับและเห็นคุณค่าในการแสดงออกทางนาฏศิลป์พื้นบ้านที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย

กิจกรรมการเรียนรู้ 
ขั้นนำ
๑.      นักเรียนนั่งเป็นแถวเรียงหน้ากระดาน นั่งแยกชาย-หญิง นักเรียนทุกคนแสดงความเคารพครูผู้สอน
๒.    ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนจำนวน ๑๐ ข้อ ภายในเวลา ๑๐ นาที
ขั้นสอน
๓.     ครูเปิดวีดิทัศน์เกี่ยวกับระบำ รำ ฟ้อน และนาฏศิลป์พื้นบ้าน ให้นักเรียนดูและถามว่า การแสดงต่าง ๆ ที่นักเรียนได้ดูจากวีดิทัศน์มีคุณค่าและควรอนุรักษ์ไว้หรือไม่ อย่างไร ให้นักเรียนร่วมอภิปราย แสดงความคิดเห็น
๔.     ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๖ คน ชาย ๓ คน หญิง ๓ คน นั่งเป็นแถวเรียงหน้ากระดาน ครูแจกเอกสารประกอบการสอน ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาในบทที่ ๑ ซึ่งในชั่วโมงนี้ ศึกษาเรื่อง ระบำ รำ ฟ้อน และนาฏศิลป์พื้นบ้าน นักเรียนในกลุ่มทำกิจกรรมตามที่ระบุในเอกสารประกอบการสอน ครูคอยอธิบายแนะนำเพิ่มเติม ในกรณีที่นักเรียนมีข้อซักถามในเรื่องที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ
ขั้นทบทวน
๕.     ให้นักเรียนเล่นเกมลมพัด โดยครูนำแผนภูมิเพลงลมพัด ติดบนกระดาน แล้วร้องเพลงให้นักเรียนฟัง ๑ เที่ยว ต่อจากนั้น นักเรียนฝึกร้องเพลงไปพร้อมกับครู เมื่อนักเรียนร้องเพลงได้แล้วจึงเริ่มเล่นเกม โดยเลือกตัวแทนนักเรียนในชั้นมาเป็นต้นเสียง เริ่มร้องพลง ลมเอยลมพัด โบกสะบัดพัดมาไวไว เพื่อน ๆ ร้องรับ ตรงคำว่า ลมเอยลมพัดอะไร (ซ้ำ) นักเรียนต้นเสียงร้อง ฉันจะบอกให้...พัดคนที่ชื่อ.... คนที่โดนเรียกชื่อยืนขึ้น ครูก็จะตั้งคำถามให้นักเรียนที่โดนเรียกชื่อตอบ เมื่อนักเรียนตอบแล้ว ก็จะเริ่มร้องเพลงใหม่ ปฏิบัติแบบนี้ประมาณ ๕-๖ คำถาม ต่อจากนั้น ครูก็จะเฉลยคำตอบให้นักเรียนทราบ

ขั้นสรุป
๖.      ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียนโดยเขียนเป็นแผนผังความคิดบนกระดาน ความรู้เกี่ยวกับ ระบำ รำ ฟ้อน ความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้าน ลักษณะของการแสดงแต่ละภูมิภาคของนาฏศิลป์พื้นบ้าน
๗.     ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน จำนวน ๑๐ ข้อ เวลา ๑๐ นาที
๘.     นักเรียนทุกคนแสดงความเคารพครู เมื่อหมดเวลาเรียน แล้วเดินแถวกลับห้องเรียน

สื่ออุปกรณ์ / แหล่งการเรียนรู้ 
๑.      วีดิทัศน์การแสดงนาฏศิลป์ไทย ระบำ รำ ฟ้อน และนาฏศิลป์พื้นบ้าน
๒.    เอกสารประกอบการสอน
๓.     แผนภูมิเพลง
๔.     หอสมุดแห่งชาติ
๕.     ห้องสมุดโรงเรียน
๖.      เว็บไซต์ของสถาบันการศึกษาและที่เกี่ยวข้องกับนาฏศิลป์ www.thaidance.com

การวัดผลและประเมินผล
๑.      สังเกตพฤติกรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๒.    สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
๓.     ประเมินความรู้

เครื่องมือ
๑.      แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๒.    แบบสังเกตพฤติกรรมในการร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น
๓.     แบบทดสอบก่อนเรียน กิจกรรมท้ายบทเรียน และแบทดสอบหลังเรียน

เกณฑ์การประเมิน
๑.      สังเกตพฤติกรรมรายบุคคลผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๖๐
๒.    สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๖๐
๓.    นักเรียนร้อยละ ๘๐ มีคะแนนจากการแบบทดสอบก่อนเรียนและกิจกรรมท้ายบทเรียนร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป
๔.    นักเรียนร้อยละ ๘๐ มีคะแนนจากการแบบทดสอบหลังเรียนร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป

แผนการจัดการเรียนรู้ (เอกสารประกอบการสอน)
โรงเรียนวัดคู้บอน    สำนักงานเขตคลองสามวา   กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ  สาระนาฏศิลป์                            ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  เรื่อง ฟ้อนลาวดวงเดือน                                       เวลา ๘ ชั่วโมง  (ชั่วโมงที่ ๒)   
สัปดาห์ที่        วันที่  ๑๔-๑๘ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ศ.๓.๑ เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด
 ป.๖/๓ แสดงนาฏศิลป์และละครง่ายๆ

สาระสำคัญ
                การแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้าน เป็นการแสดงที่มีความสวยงาม เป็นศิลปะที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทยและเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ทุกคนร่วมมือกันอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป

สาระการเรียนรู้
ความรู้
๑.      ประวัติความเป็นมาของเพลงลาวดวงเดือน
๒.    รูปแบบการแสดงฟ้อนลาวดวงเดือน
๓.     ลักษณะการแต่งกายของการแสดงฟ้อนลาวดวงเดือน
๔.     เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงเพลงลาวดวงเดือน
๕.     เนื้อร้องและทำนองเพลงลาวดวงเดือน
๖.      โอกาสที่ใช้แสดงฟ้อนลาวดวงเดือน
ทักษะ/กระบวนการ
๑.      อธิบายประวัติความเป็นมาของเพลงลาวดวงเดือน
๒.    อธิบายรูปแบบการแสดงฟ้อนลาวดวงเดือน
๓.     อธิบายลักษณะการแต่งกายของการแสดงฟ้อนลาวดวงเดือน
๔.     รู้จักเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงเพลงลาวดวงเดือน
๕.     ขับร้องเพลงลาวดวงเดือน และทำจังหวะขณะขับร้อง
๖.      เลือกและประยุกต์ใช้การแสดงฟ้อนลาวดวงเดือนในโอกาสต่าง ๆ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๑.      รู้และเข้าใจประโยชน์ของเพลงไทย
๒.    เห็นคุณค่าของการขับร้องเพลงไทย

กิจกรรมการเรียนรู้ 
ขั้นนำ
๑.      นักเรียนนั่งเป็นแถวเรียงหน้ากระดาน นั่งแยกชาย-หญิง นักเรียนทุกคนแสดงความเคารพครูผู้สอน
๒.    ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนจำนวน ๑๐ ข้อ ภายในเวลา ๑๐ นาที
ขั้นสอน
๓.     ครูให้นักเรียนฟังเพลงท่วงทำนองพื้นเมืองภาคเหนือ แล้วให้นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ว่าเป็นพื้นเมืองประเภทใด
๔.     ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๖ คน ชาย ๓ คน หญิง ๓ คน นั่งเป็นแถวเรียงหน้ากระดาน ครูแจกเอกสารประกอบการสอน ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาในบทที่ ๒ ซึ่งในชั่วโมงนี้ ศึกษาเรื่อง ประวัติความเป็นมาของเพลงลาวดวงเดือน รูปแบบการแสดง การแต่งกาย เครื่องดนตรี เนื้อร้องและทำนองเพลง และโอกาสที่ใช้แสดง ครูคอยอธิบายแนะนำเพิ่มเติม ในกรณีที่นักเรียนมีข้อซักถามในเรื่องที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ
๕.     ครูให้นักเรียนอ่านออกเสียงในเนื้อร้องเพลงลาวดวงเดือนจากเอกสารประกอบการสอน แล้วครูเปิดแถบบันทึกเสียงเพลงลาวดวงเดือนให้นักเรียนฟัง แล้วฝึกร้องคลอตามไปกับเพลง เพื่อให้นักเรียนจำบทร้อง และจำจังหวะเพลงได้
๖.      ครูร้องเพลงลาวดวงเดือน พร้อมตีฉิ่งประกอบการร้อง เพื่อให้นักเรียนสังเกตจังหวะในการตีฉิ่ง ๑ รอบ
๗.           ครูร้องนำทีละวรรค นักเรียนฝึกร้องตาม พร้อมปรบมือประกอบจังหวะเพลงลาวดวงเดือน
๘.     ให้นักเรียนฝึกร้องเพลงลาวดวงเดือน และปรบมือประกอบจังหวะเพลงลาวดวงเดือนโดยดูแผนภูมิบนกระดานที่มีเครื่องหมายฉิ่งฉับ กำกับจังหวะประกอบไปด้วย
ขั้นทบทวน
๙.             ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสลับกันร้องเพลงลาวดวงเดือน โดยมีครูและเพื่อนประเมินผลงาน
ขั้นสรุป
๑๐.  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียนโดยเขียนเป็นแผนผังความคิดบนกระดาน ความรู้เกี่ยวกับ ประวัติความเป็นมาของเพลงลาวดวงเดือน รูปแบบการแสดง                 การแต่งกาย เครื่องดนตรี และโอกาสที่ใช้แสดง
๑๑. ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลงลาวดวงเดือน พร้อมปรบมือประกอบจังหวะเพลงลาวดวงเดือน อีก ๑ รอบ

สื่ออุปกรณ์ / แหล่งการเรียนรู้ 
๑.      เครื่องบันทึกเสียง
๒.    แถบบันทึกเสียงเพลงพื้นบ้านภาคเหนือและเพลงลาวดวงเดือน
๓.     เอกสารประกอบการสอน
๔.     แผนภูมิเพลงลาวดวงเดือน
๕.     ฉิ่ง กรับ หรือไม้เคาะจังหวะ
๖.      หอสมุดแห่งชาติ
๗.     ห้องสมุดโรงเรียน
๘.     เว็บไซต์ของสถาบันการศึกษาและที่เกี่ยวข้องกับนาฏศิลป์

การวัดผลและประเมินผล
๑.      สังเกตพฤติกรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๒.    สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
๓.     ประเมินความรู้

เครื่องมือ
๑.      แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๒.    แบบสังเกตพฤติกรรมในการร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น
๓.     แบบทดสอบก่อนเรียน

เกณฑ์การประเมิน
๑.      สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๖๐
๒.    การนำเสนอผลงานผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๖๐
๓.    นักเรียนร้อยละ ๘๐ มีคะแนนจากการแบบทดสอบก่อนเรียนร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป
แผนการจัดการเรียนรู้ (เอกสารประกอบการสอน)
โรงเรียนวัดคู้บอน    สำนักงานเขตคลองสามวา   กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ  สาระนาฏศิลป์                            ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  เรื่อง ฟ้อนลาวดวงเดือน                                       เวลา ๘ ชั่วโมง  (ชั่วโมงที่ ๓)   
สัปดาห์ที่        วันที่   ๒๑-๒๕ เดือน มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๓
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ศ.๓.๑ เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด
 ป.๖/๓ แสดงนาฏศิลป์และละครง่ายๆ

สาระสำคัญ
                การแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้าน เป็นการแสดงที่มีความสวยงาม เป็นศิลปะที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทยและเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ทุกคนร่วมมือกันอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป

สาระการเรียนรู้
ความรู้
๑.      ท่ารำ ท่าออก" ฟ้อนลาวดวงเดือน
ทักษะ/กระบวนการ
๑.      ปฏิบัติท่ารำ ท่าออก" ฟ้อนลาวดวงเดือน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๑.      แสดงออกทางนาฏศิลป์ในรูปแบบต่าง ๆ บนพื้นฐานความงาม
๒.    เกิดการยอมรับและเห็นคุณค่าในการแสดงออกทางนาฏศิลป์พื้นบ้านที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย


กิจกรรมการเรียนรู้ 
ขั้นนำ
๑.      นักเรียนนั่งเป็นแถวเรียงหน้ากระดาน นั่งแยกชาย-หญิง นักเรียนทุกคนแสดงความเคารพครูผู้สอน
๒.    ครูให้นักเรียนทบทวนบทเรียนโดยการร้องเพลงและปรบมือประกอบการร้องเพลงลาวดวงเดือนพร้อมกันทุกคน
ขั้นสอน
๓.     ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๖ คน ชาย ๓ คน หญิง ๓ คน สลับกันออกมาสอบร้องเพลงและปรบมือประกอบจังหวะฉิ่งฉับจนครบทุกกลุ่ม โดยมีครูและเพื่อนนักเรียนต่างกลุ่มร่วมประเมินผลงาน ในการร้องเพลงและทำจังหวะขณะขับร้องเพลง
๔.     ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๖ คน (กลุ่มเดิม) นั่งแยกชาย-หญิง นั่งเป็นแถวเรียงหน้ากระดาน
๕.     ครูแจกเอกสารประกอบการสอนให้นักเรียนศึกษาท่ารำ ท่าออกแล้วฝึกตาม
๖.      ครูสาธิตท่าออกของฟ้อนลาวดวงเดือนให้นักเรียนดูซ้ำอีกครั้ง ทั้งแบบตัวพระและตัวนาง นักเรียนฝึกตาม
๗.     นักเรียนแยกกลุ่มฝึกซ้อมท่ารำ ท่าออกของฟ้อนลาวดวงเดือน โดยมีครูคอยแก้ไขแนะนำท่ารำของนักเรียนให้มือเท้าสัมพันธ์กัน
ขั้นทบทวน
๘.     ครูเปิดเพลงเฉพาะทำนองเพลงท่าออก ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสลับกันรำในท่าออกจนครบทุกกลุ่ม โดยมีครูคอยดูแลชี้แนะท่ารำที่ถูกต้องสวยงามให้กับนักเรียน
ขั้นสรุป
๙.      ครูเปิดเพลงเฉพาะทำนองเพลงท่าออก ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสลับกันรำ โดยมีครูและเพื่อนประเมินผลงาน
๑๐.  ครูให้นักเรียนกลับไปทบทวนท่ารำที่เรียนไปแล้วที่บ้าน หรือในเวลาว่าง
๑๑. นักเรียนทุกคนแสดงความเคารพครู เมื่อหมดเวลาเรียน แล้วเดินแถวกลับห้องเรียน

สื่ออุปกรณ์ / แหล่งการเรียนรู้ 
๑.      แถบบันทึกเสียงเพลงลาวดวงเดือน
๒.    เครื่องบันทึกเสียง
๓.     เอกสารประกอบการสอน
การวัดผลและประเมินผล
๑.      สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
๒.    การนำเสนอผลงาน

เครื่องมือ
๑.      แบบสังเกตพฤติกรรมในการร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น
๒.    แบบวัดทักษะการปฏิบัติการขับร้องเพลงลาวดวงเดือน

เกณฑ์การประเมิน
๑.      สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๖๐
๒.    การนำเสนอผลงานผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ๖๐


แผนการจัดการเรียนรู้ (เอกสารประกอบการสอน)
โรงเรียนวัดคู้บอน    สำนักงานเขตคลองสามวา   กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ  สาระนาฏศิลป์                            ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  เรื่อง ฟ้อนลาวดวงเดือน                                       เวลา ๘ ชั่วโมง  (ชั่วโมงที่ ๔)   
สัปดาห์ที่        วันที่   ๒๘-๓๐/๑-๒ เดือน มิถุนายน/กรกฎาคม  พ.ศ.๒๕๕๓
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ศ.๓.๑ เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด
 ป.๖/๓ แสดงนาฏศิลป์และละครง่ายๆ

สาระสำคัญ
                การแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้าน เป็นการแสดงที่มีความสวยงาม เป็นศิลปะที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทยและเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ทุกคนร่วมมือกันอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป

สาระการเรียนรู้
ความรู้
๑.      ท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือน ตั้งแต่คำร้อง โอ้ละหนอดวงเดือนเอย ถึง คำร้อง รักเจ้าดวงเดือนเอย และท่ารับท่าที่ ๑
ทักษะ/กระบวนการ
๑.      ปฏิบัติท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือน ตั้งแต่คำร้อง โอ้ละหนอดวงเดือนเอย ถึง คำร้อง รักเจ้าดวงเดือนเอย และท่ารับท่าที่ ๑
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๑.      แสดงออกทางนาฏศิลป์ในรูปแบบต่าง ๆ บนพื้นฐานความงาม
๒.    เกิดการยอมรับและเห็นคุณค่าในการแสดงออกทางนาฏศิลป์พื้นบ้านที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย
กิจกรรมการเรียนรู้ 
ขั้นนำ
๑.      นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๖ คน ชาย ๓ คน หญิง ๓ คน นั่งเป็นแถวเรียงหน้ากระดาน นั่งแยกชาย-หญิง นักเรียนทุกคนแสดงความเคารพครูผู้สอน ปฏิบัติท่าดัดมือ ดัดแขน ดัดขา
๒.    ครูให้นักเรียนร้องเพลงลาวดวงเดือน ๑ รอบ พร้อมทั้งทำจังหวะโดยการปรบมือแทนการตีฉิ่งประกอบการร้อง
๓.     ครูให้นักเรียนทบทวนท่ารำ ท่าออกที่เรียนไปแล้ว
ขั้นสอน
๔.     ครูอธิบายนาฏยศัพท์และภาษาท่ารำที่ใช้เฉพาะช่วงที่รำ เช่น โย้ตัว ตีไหล่ ถอนเท้า แตะเท้า เหลื่อมเท้า ก้าวไขว้ ก้าวข้าง สะดุดเท้า ท่าโลมบน ท่าตัวเรา ท่ารัก
๕.     ครูอธิบายท่ารำ นาฏยศัพท์และภาษาท่ารำ พร้อมกับให้นักเรียนปฏิบัติตาม เมื่อสังเกตว่านักเรียนพอเข้าใจและปฏิบัติได้แล้ว
๖.      ครูแจกเอกสารประกอบการสอน ให้นักเรียนศึกษาท่ารำประกอบเพลงลาวดวงเดือนตามกิจกรรมที่กำหนดในเอกสารประกอบการสอน โดยมีครูคอยอธิบายเพิ่มเติม เมื่อนักเรียนมีข้อสงสัยไม่เข้าใจ ปฏิบัติท่ารำไม่ได้หรือไม่ถูกต้องสวยงาม
๗.     ครูอธิบายและสาธิตการรำให้นักเรียนปฏิบัติตาม
๘.     ครูให้หลักในการจำท่ารำ
ขั้นทบทวน
๙.      ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ฝึกซ้อมท่ารำ โดยนักเรียนร้องเพลงเองหลาย ๆ ครั้ง โดยมีครูคอยจัดท่ารำนักเรียนที่ปฏิบัติไม่ได้ ให้ถูกต้องสวยงาม
๑๐.  ครูเปิดเพลง ให้นักเรียนทุกกลุ่มปฏิบัติตามเพลง พร้อมกันทั้งมือและเท้าให้เข้ากับจังหวะตามบทเพลง โดยครูเป็นผู้กำกับจังหวะ
ขั้นสรุป
๑๑.  ครูเปิดเพลงให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม สลับกันปฏิบัติท่ารำ ตั้งแต่ท่าออก จนถึง ท่ารับท่า
 ที่ ๑ โดยมีครูและเพื่อนต่างกลุ่มประเมินผลงาน
๑๒. ครูแนะนำข้อบกพร่อง ก่อนที่จะให้นักเรียนกลับไปทบทวนที่บ้าน
๑๓. นักเรียนทุกคนแสดงความเคารพครู เมื่อหมดเวลาเรียน แล้วเดินแถวกลับห้องเรียน


สื่ออุปกรณ์ / แหล่งการเรียนรู้ 
๑.      แถบบันทึกเสียงเพลงลาวดวงเดือน
๒.    เครื่องบันทึกเสียง
๓.     เอกสารประกอบการสอน
๔.     ฉิ่ง กรับ ไม้เคาะจังหวะ

การวัดผลและประเมินผล
๑.      สังเกตพฤติกรรมการเรียน
๒.    สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
๓.     การนำเสนอผลงาน

เครื่องมือ
๑.      แบบสังเกตพฤติกรรมในการร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น

เกณฑ์การประเมิน
๑.      สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๖๐
๒.    การนำเสนอผลงานผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ๘๐
แผนการจัดการเรียนรู้ (เอกสารประกอบการสอน)
โรงเรียนวัดคู้บอน    สำนักงานเขตคลองสามวา   กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ  สาระนาฏศิลป์                            ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  เรื่อง ฟ้อนลาวดวงเดือน                                       เวลา ๘ ชั่วโมง  (ชั่วโมงที่ ๕)   
สัปดาห์ที่        วันที่     ๕-๙  เดือน กรกฎาคม  พ.ศ.๒๕๕๓
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ศ.๓.๑ เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด
 ป.๖/๓ แสดงนาฏศิลป์และละครง่ายๆ

สาระสำคัญ
                การแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้าน เป็นการแสดงที่มีความสวยงาม เป็นศิลปะที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทยและเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ทุกคนร่วมมือกันอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป

สาระการเรียนรู้
ความรู้
๑.ท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือน ตั้งแต่ท่าออกจนถึงท่ารับท่าที่ ๑
ทักษะ/กระบวนการ
๑.      ปฏิบัติท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือน ตั้งแต่ท่าออกจนถึงท่ารับท่าที่ ๑
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๑แสดงออกทางนาฏศิลป์ในรูปแบบต่าง ๆ บนพื้นฐานความงาม
๒.    เกิดการยอมรับและเห็นคุณค่าในการแสดงออกทางนาฏศิลป์พื้นบ้านที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย


กิจกรรมการเรียนรู้ 
ขั้นนำ
๑.      นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๖ คน ชาย ๓ คน หญิง ๓ คน นั่งเป็นแถวเรียงหน้ากระดาน นั่งแยกชาย-หญิง นักเรียนทุกคนแสดงความเคารพครูผู้สอน ปฏิบัติท่าดัดมือ ดัดแขน ดัดขา
๒.    ครูและนักเรียนร้องเพลงลาวดวงเดือน ๑ รอบ พร้อมทั้งทำจังหวะโดยการปรบมือแทนการตีฉิ่งประกอบการร้อง
ขั้นสอน
๓.     ครูเปิดเพลงลาวดวงเดือน ให้นักเรียนรำตามเพลงโดยไม่ต้องร้องเพลงเอง เพื่อให้มีสมาธิการรำได้อย่างถูกต้อง
ขั้นทบทวน
๔.     ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๖ คน ชาย ๓ คน หญิง ๓ คน (กลุ่มเดิม) ยืนเป็นแถวเรียงหน้ากระดาน นั่งแยกชาย-หญิง ร้องเพลงลาวดวงเดือน  และทบทวนท่ารำ  ท่าออกจนถึง ท่ารับท่าที่ ๑ที่เรียนไปแล้ว โดยมีครูคอยแก้ไขท่ารำให้ถูกต้อง งดงาม
๕.     ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสลับกันออกมาปฏิบัติท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือนประกอบเพลง ตั้งแต่ ท่าออกจนถึง ท่ารับท่าที่ ๑โดยมีเพื่อนต่างกลุ่มร่วมประเมินผลงาน เพื่อให้รู้จักสังเกต เปรียบเทียบความแตกต่างได้
ขั้นสรุป
๖.       ครูเปิดเพลงทดสอบการรำของนักเรียนแต่ละกลุ่ม ตั้งแต่ท่าออก จนถึง ท่ารับท่าที่ ๑  
๗.     ครูชมเชยและแนะนำข้อบกพร่อง พร้อมทั้งให้นักเรียนทุกคนหมั่นไปฝึกซ้อม การร้องประกอบการรำในเวลาว่าง
๘.     นักเรียนแสดงความเคารพครู ก่อนจะเดินแถวกลับชั้นเรียน

สื่ออุปกรณ์ / แหล่งการเรียนรู้ 
๑.      แถบบันทึกเสียงเพลงลาวดวงเดือน
๒.    เครื่องบันทึกเสียง
๓.     ฉิ่ง กรับ ไม้เคาะจังหวะ


การวัดผลและประเมินผล
๑.      สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
๒.    การนำเสนอผลงาน

เครื่องมือ
๑.      แบบสังเกตพฤติกรรมในการร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น
๒.    แบบวัดทักษะปฏิบัติการฟ้อนลาวดวงเดือน

เกณฑ์การประเมิน
๑.  สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๖๐
๑.      การนำเสนอผลงานผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ๘๐
แผนการจัดการเรียนรู้ (เอกสารประกอบการสอน)
โรงเรียนวัดคู้บอน    สำนักงานเขตคลองสามวา   กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ  สาระนาฏศิลป์                            ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  เรื่อง ฟ้อนลาวดวงเดือน                                       เวลา ๘ ชั่วโมง  (ชั่วโมงที่  ๖)   
สัปดาห์ที่        วันที่   ๑๒-๑๖ เดือน กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๓
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ศ.๓.๑ เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด
 ป.๖/๓ แสดงนาฏศิลป์และละครง่ายๆ

สาระสำคัญ
                การแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้าน เป็นการแสดงที่มีความสวยงาม เป็นศิลปะที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทยและเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ทุกคนร่วมมือกันอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป

สาระการเรียนรู้
ความรู้
๑.      ท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือน ตั้งแต่คำร้องขอลาแล้วเจ้าแก้วโกสุมจนถึงท่ารับท่าที่ ๒
ทักษะ/กระบวนการ
๑.             ปฏิบัติท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือน ตั้งแต่คำร้องขอลาแล้วเจ้าแก้วโกสุมจนถึงท่ารับท่าที่ ๒
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๑.  แสดงออกทางนาฏศิลป์ในรูปแบบต่าง ๆ บนพื้นฐานความงาม
๒.  เกิดการยอมรับและเห็นคุณค่าในการแสดงออกทางนาฏศิลป์พื้นบ้านที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย


กิจกรรมการเรียนรู้ 
ขั้นนำ
๑.      นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๖ คน ชาย ๓ คน หญิง ๓ คน นั่งเป็นแถวเรียงหน้ากระดาน นั่งแยกชาย-หญิง นักเรียนทุกคนแสดงความเคารพครูผู้สอน ปฏิบัติท่าดัดมือ ดัดแขน ดัดขา
๒.    ให้นักเรียนทบทวนท่ารำที่เรียนไปแล้ว โดยครูเปิดเพลงให้นักเรียนปฏิบัติท่ารำตั้งแต่ท่าออก จนถึงท่ารับท่าที่ ๑
ขั้นสอน
๓.     ครูให้นักเรียนศึกษาท่ารำประกอบเพลงลาวดวงเดือนตามกิจกรรมที่กำหนดในเอกสารประกอบการสอน ตั้งแต่คำร้องขอลาแล้วเจ้าแก้วโกสุมจนถึงท่ารับท่าที่ ๒ โดยมีครูคอยอธิบายเพิ่มเติม เมื่อนักเรียนมีข้อสงสัยไม่เข้าใจ ปฏิบัติท่ารำไม่ได้หรือไม่ถูกต้องสวยงาม
๔.     ครูและนักเรียนปฏิบัติท่ารำประกอบคำร้อง ตั้งแต่คำร้องขอลาแล้วเจ้าแก้วโกสุมจนถึงท่ารับท่าที่ ๒ โดยแยกฝึกตามขั้นตอน ฝึกการใช้มือประกอบเพลงร้อง และฝึกการใช้เท้าเดินตามจังหวะเพลงร้องอย่างถูกต้อง
๕.     ฝึกปฏิบัติพร้อมกัน ทั้งมือและเท้า พร้อมทั้งร้องเพลงโดยให้กาย ใจ สมองสัมพันธ์กัน
กาย ได้แก่ มือร่ายรำ เท้าเดินปากร้องเพลง
ใจ ได้แก่ มีความตั้งใจ ทำความเข้าใจกับบทเรียน พยายามปรับปรุงแก้ไขท่ารำให้ถูกต้อง งดงาม มีสมาธิในการใช้อวัยวะให้สัมพันธ์ได้
สมอง ได้แก่ ฝึกการคิดค้นหาหลักในการจำท่ารำเป็นของตนเอง
ขั้นทบทวน
๖.      ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๖ คน ชาย ๓ คน หญิง ๓ คน (กลุ่มเดิม) ยืนเป็นแถวเรียงหน้ากระดาน นั่งแยกชาย-หญิง ร้องเพลงลาวดวงเดือน  และทบทวนท่ารำ  ตั้งแต่คำร้องขอลาแล้วเจ้าแก้วโกสุมจนถึงท่ารับท่าที่ ๒  โดยมีครูคอยแก้ไขท่ารำให้ถูกต้อง งดงาม
ขั้นสรุป
๗.     ครูเปิดเพลง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสลับกันออกมาปฏิบัติท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือนประกอบเพลง ตั้งแต่ คำร้องขอลาแล้วเจ้าแก้วโกสุมจนถึงท่ารับท่าที่ ๒  โดยมีเพื่อนต่างกลุ่มร่วมประเมินผลงาน เพื่อให้รู้จักสังเกต เปรียบเทียบความแตกต่างได้
๘.     นักเรียนแสดงความเคารพครู ก่อนจะเดินแถวกลับชั้นเรียน
สื่ออุปกรณ์ / แหล่งการเรียนรู้ 
๑.      แถบบันทึกเสียงเพลงลาวดวงเดือน
๒.    เครื่องบันทึกเสียง
๓.     ฉิ่ง กรับ ไม้เคาะจังหวะ
๔.     เอกสารประกอบการสอน

การวัดผลและประเมินผล
๑.      สังเกตพฤติกรรมการเรียนรายบุคคล
๒.    สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
๓.     การนำเสนอผลงาน

เครื่องมือ
๑.      แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๒.    แบบสังเกตพฤติกรรมในการร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น

เกณฑ์การประเมิน
๑.  สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๖๐
๒.    การนำเสนอผลงานผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ๘๐
แผนการจัดการเรียนรู้ (เอกสารประกอบการสอน)
โรงเรียนวัดคู้บอน    สำนักงานเขตคลองสามวา   กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ  สาระนาฏศิลป์                            ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  เรื่อง ฟ้อนลาวดวงเดือน                                       เวลา ๘ ชั่วโมง  (ชั่วโมงที่  ๗)   
สัปดาห์ที่        วันที่   ๑๙-๒๓  เดือน กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๓
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ศ.๓.๑ เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด
 ป.๖/๓ แสดงนาฏศิลป์และละครง่ายๆ

สาระสำคัญ
                การแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้าน เป็นการแสดงที่มีความสวยงาม เป็นศิลปะที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทยและเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ทุกคนร่วมมือกันอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป

สาระการเรียนรู้
ความรู้
๑.      ท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือน ตั้งแต่คำร้องจะหาไหนมาเทียม จนถึง คำร้องหอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้
ทักษะ/กระบวนการ
๒.    ปฏิบัติท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือน ตั้งแต่คำร้องจะหาไหนมาเทียม จนถึง คำร้องหอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๑.  แสดงออกทางนาฏศิลป์ในรูปแบบต่าง ๆ บนพื้นฐานความงาม
๒.  เกิดการยอมรับและเห็นคุณค่าในการแสดงออกทางนาฏศิลป์พื้นบ้านที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย
กิจกรรมการเรียนรู้ 
ขั้นนำ
๑.      นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๖ คน ชาย ๓ คน หญิง ๓ คน นั่งเป็นแถวเรียงหน้ากระดาน นั่งแยกชาย-หญิง นักเรียนทุกคนแสดงความเคารพครูผู้สอน ปฏิบัติท่าดัดมือ ดัดแขน ดัดขา
๒.    ให้นักเรียนทบทวนท่ารำที่เรียนไปแล้ว โดยครูเปิดเพลงให้นักเรียนปฏิบัติท่ารำตั้งแต่ท่าออก จนถึงท่าขวัญตาเรียม พร้อมกันทุกคน
ขั้นสอน
๓.     ครูให้นักเรียนศึกษาท่ารำประกอบเพลงลาวดวงเดือนตามกิจกรรมที่กำหนดในเอกสารประกอบการสอน ตั้งแต่คำร้องจะหาไหนมาเทียม จนถึง คำร้องหอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ โดยมีครูคอยอธิบายเพิ่มเติม เมื่อนักเรียนมีข้อสงสัยไม่เข้าใจ ปฏิบัติท่ารำไม่ได้หรือไม่ถูกต้องสวยงาม
๔.     ครูและนักเรียนปฏิบัติท่ารำประกอบคำร้อง จะหาไหนมาเทียม จนถึง คำร้องหอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ โดยแยกฝึกตามขั้นตอน ฝึกการใช้มือประกอบเพลงร้อง และฝึกการใช้เท้าเดินตามจังหวะเพลงร้องอย่างถูกต้อง
๕.     ฝึกปฏิบัติพร้อมกัน ทั้งมือและเท้า พร้อมทั้งร้องเพลงโดยให้กาย ใจ สมองสัมพันธ์กัน
กาย ได้แก่ มือร่ายรำ เท้าเดินปากร้องเพลง
ใจ ได้แก่ มีความตั้งใจ ทำความเข้าใจกับบทเรียน พยายามปรับปรุงแก้ไขท่ารำให้ถูกต้อง งดงาม มีสมาธิในการใช้อวัยวะให้สัมพันธ์ได้
สมอง ได้แก่ ฝึกการคิดค้นหาหลักในการจำท่ารำเป็นของตนเอง
ขั้นทบทวน
๖.      ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๖ คน ชาย ๓ คน หญิง ๓ คน (กลุ่มเดิม) ยืนเป็นแถวเรียงหน้ากระดาน นั่งแยกชาย-หญิง ร้องเพลงลาวดวงเดือน  และทบทวนท่ารำ  จะหาไหนมาเทียม จนถึง คำร้องหอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ โดยมีครูคอยแก้ไขท่ารำให้ถูกต้อง งดงาม
ขั้นสรุป
๗.     ครูเปิดเพลง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสลับกันออกมาปฏิบัติท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือน ประกอบเพลง ตั้งแต่ จะหาไหนมาเทียม จนถึง คำร้องหอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ โดยมีเพื่อนต่างกลุ่มร่วมประเมินผลงาน เพื่อให้รู้จักสังเกต เปรียบเทียบความแตกต่างได้
๘.     นักเรียนแสดงความเคารพครู ก่อนจะเดินแถวกลับชั้นเรียน
สื่ออุปกรณ์ / แหล่งการเรียนรู้ 
๑.      แถบบันทึกเสียงเพลงลาวดวงเดือน
๒.    เครื่องบันทึกเสียง
๓.     ฉิ่ง กรับ ไม้เคาะจังหวะ
๔.     เอกสารประกอบการสอน

การวัดผลและประเมินผล
๑.      สังเกตพฤติกรรมการเรียนรายบุคคล
๒.    สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
๓.     การนำเสนอผลงาน

เครื่องมือ
๑.      แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๒.    แบบสังเกตพฤติกรรมในการร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น

เกณฑ์การประเมิน
๑.  สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๖๐
๒. การนำเสนอผลงานผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ๘๐
แผนการจัดการเรียนรู้ (เอกสารประกอบการสอน)
โรงเรียนวัดคู้บอน    สำนักงานเขตคลองสามวา   กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ  สาระนาฏศิลป์                            ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  เรื่อง ฟ้อนลาวดวงเดือน                                       เวลา ๘ ชั่วโมง  (ชั่วโมงที่  ๘)   
สัปดาห์ที่   ๑๐     วันที่   ๒๖-๒๐ เดือน กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๕๕๓
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ศ.๓.๑ เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด
 ป.๖/๓ แสดงนาฏศิลป์และละครง่ายๆ

สาระสำคัญ
                การแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้าน เป็นการแสดงที่มีความสวยงาม เป็นศิลปะที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทยและเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ทุกคนร่วมมือกันอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป

สาระการเรียนรู้
ความรู้
๑.      ท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือน ตั้งแต่คำร้องหอมกลิ่นคล้าย คล้ายเจ้าสูเรียมเอย จนถึง คำร้องเนื้อหอมทรามเชย เอ๋ยเราละหนอ และท่ารับท่าจบ
ทักษะ/กระบวนการ
๑.      ปฏิบัติท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือน ตั้งแต่คำร้องหอมกลิ่นคล้าย คล้ายเจ้าสูเรียมเอย จนถึง คำร้องเนื้อหอมทรามเชย เอ๋ยเราละหนอ และท่ารับท่าจบ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๑.  แสดงออกทางนาฏศิลป์ในรูปแบบต่าง ๆ บนพื้นฐานความงาม
๒.  เกิดการยอมรับและเห็นคุณค่าในการแสดงออกทางนาฏศิลป์พื้นบ้านที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย
กิจกรรมการเรียนรู้  
ขั้นนำ
๑.      นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๖ คน ชาย ๓ คน หญิง ๓ คน นั่งเป็นแถวเรียงหน้ากระดาน นั่งแยกชาย-หญิง นักเรียนทุกคนแสดงความเคารพครูผู้สอน ปฏิบัติท่าดัดมือ ดัดแขน ดัดขา
๒.    ให้นักเรียนทบทวนท่ารำที่เรียนไปแล้ว โดยครูเปิดเพลงให้นักเรียนปฏิบัติท่ารำตั้งแต่ท่าออก จนถึงหอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ พร้อมกันทุกคน
ขั้นสอน
๓.     ครูให้นักเรียนศึกษาท่ารำประกอบเพลงลาวดวงเดือนตามกิจกรรมที่กำหนดในเอกสารประกอบการสอน ตั้งแต่คำร้องหอมกลิ่นคล้าย คล้ายเจ้าสูเรียมเอย จนถึง คำร้องเนื้อหอมทรามเชย เอ๋ยเราละหนอ และท่ารับท่าจบ โดยมีครูคอยอธิบายเพิ่มเติม เมื่อนักเรียนมีข้อสงสัยไม่เข้าใจ ปฏิบัติท่ารำไม่ได้หรือไม่ถูกต้องสวยงาม
๔.     ครูและนักเรียนปฏิบัติท่ารำประกอบคำร้อง ตั้งแต่คำร้องหอมกลิ่นคล้าย คล้ายเจ้าสูเรียมเอย จนถึง คำร้องเนื้อหอมทรามเชย เอ๋ยเราละหนอ และท่ารับท่าจบ โดยแยกฝึกตามขั้นตอน ฝึกการใช้มือประกอบเพลงร้อง และฝึกการใช้เท้าเดินตามจังหวะเพลงร้องอย่างถูกต้อง
๕.     ฝึกปฏิบัติพร้อมกัน ทั้งมือและเท้า พร้อมทั้งร้องเพลงโดยให้กาย ใจ สมองสัมพันธ์กัน
กาย ได้แก่ มือร่ายรำ เท้าเดินปากร้องเพลง
ใจ ได้แก่ มีความตั้งใจ ทำความเข้าใจกับบทเรียน พยายามปรับปรุงแก้ไขท่ารำให้ถูกต้อง งดงาม มีสมาธิในการใช้อวัยวะให้สัมพันธ์ได้
สมอง ได้แก่ ฝึกการคิดค้นหาหลักในการจำท่ารำเป็นของตนเอง
ขั้นทบทวน
๖.      ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๖ คน ชาย ๓ คน หญิง ๓ คน (กลุ่มเดิม) ยืนเป็นแถวเรียงหน้ากระดาน นั่งแยกชาย-หญิง ร้องเพลงลาวดวงเดือน  และทบทวนท่ารำ  ตั้งแต่คำร้องหอมกลิ่นคล้าย คล้ายเจ้าสูเรียมเอย จนถึง คำร้องเนื้อหอมทรามเชย เอ๋ยเราละหนอ และท่ารับท่าจบ โดยมีครูคอยแก้ไขท่ารำให้ถูกต้อง งดงาม
ขั้นสรุป
๗.     ครูเปิดเพลง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสลับกันออกมาปฏิบัติท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือน ประกอบเพลง ตั้งแต่คำร้องหอมกลิ่นคล้าย คล้ายเจ้าสูเรียมเอย จนถึง คำร้องเนื้อหอมทรามเชย เอ๋ยเราละหนอ และท่ารับท่าจบ โดยมีเพื่อนต่างกลุ่มร่วมประเมินผลงาน เพื่อให้รู้จักสังเกต เปรียบเทียบความแตกต่างได้
๘.     ให้นักเรียนทำกิจกรรมท้ายบทเรียน บทที่ ๒ เรื่องฟ้อนลาวดวงเดือน ในเอกสารประกอบการสอน
๙.      ครูแนะนำให้นักเรียนกลับไปฝึกซ้อมท่ารำในเวลาว่างโดยศึกษาทบทวนจากเอกสารประกอบการสอน
๑๐.  นักเรียนแสดงความเคารพครู ก่อนจะเดินแถวกลับชั้นเรียน

สื่ออุปกรณ์ / แหล่งการเรียนรู้ 
๑.      แถบบันทึกเสียงเพลงลาวดวงเดือน
๒.    เครื่องบันทึกเสียง
๓.     ฉิ่ง กรับ ไม้เคาะจังหวะ
๔.     เอกสารประกอบการสอน

การวัดผลและประเมินผล
๑.      สังเกตพฤติกรรมการเรียนรายบุคคล
๒.    สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
๓.     การนำเสนอผลงาน

เครื่องมือ
๑.      แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๒.    แบบสังเกตพฤติกรรมในการร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น

เกณฑ์การประเมิน
๑.  สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๖๐
๒. การนำเสนอผลงานผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ๘๐
แผนการจัดการเรียนรู้ (เอกสารประกอบการสอน)
โรงเรียนวัดคู้บอน    สำนักงานเขตคลองสามวา   กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ  สาระนาฏศิลป์                            ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  เรื่อง ฟ้อนลาวดวงเดือน                                       เวลา ๘ ชั่วโมง  (ชั่วโมงที่  ๙)   
สัปดาห์ที่   ๑๑     วันที่   ๒-๖    เดือน สิงหาคม  พ.ศ. ๒๕๕๓
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ศ.๓.๑ เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด
 ป.๖/๓ แสดงนาฏศิลป์และละครง่ายๆ

สาระสำคัญ
                การแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้าน เป็นการแสดงที่มีความสวยงาม เป็นศิลปะที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทยและเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ทุกคนร่วมมือกันอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป

สาระการเรียนรู้
ความรู้
๑.      ท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือน
ทักษะ/กระบวนการ
๑.      ปฏิบัติท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือนทั้งเพลง
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๑.  แสดงออกทางนาฏศิลป์ในรูปแบบต่าง ๆ บนพื้นฐานความงาม
๒.  เกิดการยอมรับและเห็นคุณค่าในการแสดงออกทางนาฏศิลป์พื้นบ้านที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย
๓. ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มุ่งมั่นในการทำงาน และรักความเป็นไทย

กิจกรรมการเรียนรู้ 
ขั้นนำ
๑.      นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๖ คน ชาย ๓ คน หญิง ๓ คน นั่งเป็นแถวเรียงหน้ากระดาน นั่งแยกชาย-หญิง นักเรียนทุกคนแสดงความเคารพครูผู้สอน ปฏิบัติท่าดัดมือ ดัดแขน ดัดขา
๒.    ให้นักเรียนทบทวนท่ารำที่เรียนไปแล้ว โดยครูเปิดเพลงให้นักเรียนปฏิบัติท่ารำตั้งแต่ท่าออก จบเพลง พร้อมกันทุกคน
ขั้นสอน
๓.     ครูให้นักเรียนปฏิบัติท่ารำตั้งแต่ท่าออก จบเพลง พร้อมกันทุกคน และคอยจับท่ารำให้กับนักเรียนให้ถูกต้อง สวยงาม
ขั้นสรุป
๔.     ครูเปิดเพลง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสลับกันออกมาสอบปฏิบัติท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือน
๕.     นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน จำนวน ๑๐ ข้อ ภายในเวลา ๑๐ นาที
๖.      นักเรียนแสดงความเคารพครู ก่อนจะเดินแถวกลับชั้นเรียน

สื่ออุปกรณ์ / แหล่งการเรียนรู้ 
๑.      แถบบันทึกเสียงเพลงลาวดวงเดือน
๒.    เครื่องบันทึกเสียง
๓.     ฉิ่ง กรับ ไม้เคาะจังหวะ
๔.     เอกสารประกอบการสอน

การวัดผลและประเมินผล
๑.      สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
๒.    การนำเสนอผลงาน
๓.     ประเมินความรู้

เครื่องมือ
๑.      แบบสังเกตพฤติกรรมในการร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น
๒.    แบบวัดทักษะปฏิบัติการฟ้อนลาวดวงเดือน
๓.     กิจกรรมท้ายบทเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน
เกณฑ์การประเมิน
๑.  สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๖๐
๒. การนำเสนอผลงานผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ๖๐
๓. นักเรียนร้อยละ ๘๐ มีคะแนนจากการแบบทดสอบหลังเรียนร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป