คำอธิบายรายวิชา

การเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระที่ 3 นาฎศิลป์ เรื่อง ฟ้อนลาวดวงเดือน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยนางปัญจมี สุขเกษม ครูโรงเรียนวัดคู้บอน เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร

คำอธิบายรายวิชา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
สาระการเรียนรู้ ดนตรี-นาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
เวลาเรียน ๑ ชั่วโมง/สัปดาห์ ๔๐ ชั่วโมง/ปีการศึกษา

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับองค์ประกอบดนตรี ศัพท์สังคีต ประเภทและหน้าที่ของเครื่องดนตรีสากล โน้ตเพลงไทย โน้ตเพลงสากล การขับร้อง การวิเคราะห์และการฟังเพลง วิวัฒนาการดนตรีไทย การประดิษฐ์ท่าทางประกอบเพลงพื้นเมือง นาฏยศัพท์และภาษาท่ารำทางนาฏศิลป์ไทย การแสดงนาฏศิลป์และละคร มารยาทในการชมการแสดงนาฏศิลป์และละคร บทบาทหน้าที่งานนาฏศิลป์และการละคร ประวัตินาฏศิลป์และการละครของไทย
                ให้นักเรียนดูภาพเครื่องดนตรีไทย นาฏยศัพท์ ภาษาท่ารำทางนาฏศิลป์ไทย การร่ายรำประกอบเพลงต่างๆ การเป็นผู้ชมที่ดีและไม่ดี เพื่อวิเคราะห์และเขียนอธิบายภาพฝึกการขับร้อง การวิเคราะห์เพลง การฟังเพลง วิเคราะห์บทบาทหน้าที่งานนาฏศิลป์และการละคร การสรุปความรู้ทางด้านดนตรีและนาฏศิลป์
                ผู้เรียนสามารถจำแนก บรรยาย อ่าน เขียนแสดงความรู้สึก อภิปรายแสดงความคิดเห็นได้จากประสบการณ์ มีการใช้ความคิดสร้างสรรค์ การใช้จินตนาการของตนเองอย่างอิสระ สามารถเข้าใจและปฏิบัติเกี่ยวกับดนตรีและนาฏศิลป์โดยใช้ทักษะกระบวนการต่างๆได้ด้วยตนเอง












มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดชั้นปี
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ ๓ : นาฏศิลป์
                มาตรฐาน ศ. ๓.๑ เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัดชั้นปี
๑.      สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวและการแสดงโดยเน้นการถ่ายทอดลีลาหรืออารมณ์
๒.    ออกแบบเครื่องแต่งกาย หรืออุปกรณ์ประกอบการแสดงอย่างง่ายๆ
๓.     แสดงนาฏศิลป์และละครง่ายๆ
๔.     บรรยายความรู้สึกของตนเองที่มีต่องานนาฏศิลป์และการละครอย่างสร้างสรรค์
๕.     แสดงความคิดเห็นในการชมการแสดง
๖.      อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์และการละครกับสิ่งที่ประสบในชีวิตประจำวัน













โครงสร้างรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  สาระที่ ๓ นาฏศิลป์
ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๖ เวลา ๒๐ ชั่วโมง

หน่วยที่
ชื่อหน่วยการเรียนรู้
มาตรฐาน            การเรียนรู้/ตัวชี้วัด
สาระสำคัญ
เวลา
(ชั่วโมง)
นาฏยศัพท์และภาษาท่ารำของนาฏศิลป์ไทย
มฐ. ศ ๓.๑
ป.๖/๓
นาฏยศัพท์และภาษาท่ารำทางนาฏศิลป์ไทย เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ชมการแสดงนาฏศิลป์เข้าใจการแสดงได้ง่ายขึ้น ทำให้การแสดงมีความสวยงามน่าสนใจ
การแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้าน
มฐ. ศ ๓.๑
ป.๖/๓
การแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้าน เป็นการแสดงที่มีความสวยงาม เป็นศิลปะที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทยและเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ทุกคนร่วมมือกันอนุรักษ์ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ทุกคนร่วมมือกันอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป
นาฏศิลป์สร้างสรรค์
มฐ. ศ ๓.๑
ป.๖/๑
.๖/๒
การประดิษฐ์ท่าทางและออกแบบอุปกรณ์การแสดงพื้นเมืองน่าสนใจ แสดงให้เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่ควรแก่การอนุรักษ์
มารยาทในการชมนาฏศิลป์และละคร
มฐ. ศ ๓.๑
ป.๖/๕
มฐ. ศ ๓.๒
.๖/๒
การชมการแสดงที่ดีผู้ชมการแสดงมีมารยาท มีหลักในการชมการแสดงที่ดีจะทำให้ผู้ชมได้ซาบซึ้งและเข้าใจการแสดงมากขึ้น
บทบาทหน้าที่งานนาฏศิลป์และการละคร
มฐ. ศ ๓.๑
ป.๖/๔
มฐ. ศ ๓.๑
.๖/๖
บุคคลที่ได้รับหน้าที่งานนาฏศิลป์และการละครต้องมีความรับผิดชอบในหน้าที่เท่านั้น และทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ เพราะจะทำให้การแสดงมีคุณภาพและเป็นที่ประทับใจแก่ผู้รับชม
ประวัตินาฏศิลป์และการแสดงละครของไทย
มฐ. ศ ๓.๒
.๖/๑
นาฏศิลป์และละครไทยเป็นศิลปะการแสดงที่มีมาแต่อดีต เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทย เราคนไทยทุกคนจึงต้องร่วมมือกันอนุรักษ์ สืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป



การจัดทำหน่วยการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
จำนวน ๒๐ ชั่วโมง ภาคเรียนที่ ๑

หน่วย
การเรียนรู้ที่
สาระการเรียนรู้รายภาค
จำนวน
(ชั่วโมง)
หลักการปฏิบัตินาฏศิลป์ไทยเบื้องต้น
- นาฏยศัพท์เบื้องต้น
- ภาษาท่ารำ
(๒)
การแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้าน
- ระบำ รำ ฟ้อน
- นาฏศิลป์พื้นบ้าน
- ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นบ้าน
- ปฏิบัติท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือน
(๙)
นาฏศิลป์พื้นบ้าน
- การออกแบบท่าทางและออกแบบอุปกรณ์การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน
- คุณค่าของนาฏศิลป์พื้นบ้าน
(๔)
มารยาทในการชมนาฏศิลป์และการละคร
(๑)
บทบาทหน้าที่งานนาฏศิลป์และการละคร
(๒)
ประวัตินาฏศิลป์และการแสดงละครของไทย
(๒)








กำหนดการสอน หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ การแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้าน
กลุ่มสาระการเรียนศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๙ ชั่วโมง

หน่วย
ที่
ชื่อหน่วยการเรียนรู้
รายละเอียดเนื้อหา
สัปดาห์ที่
ชั่วโมง
ที่
การแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้าน
การแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้าน
-  ระบำ รำ ฟ้อน
-  นาฏศิลป์พื้นบ้าน
- ฟ้อนลาวดวงเดือน
-๑๑


๔-๑๑



การแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้าน
จุดประสงค์การเรียนรู้ 

๑.      อธิบายถึงความมุ่งหมายของการแสดง ระบำ รำ ฟ้อนได้อย่างถูกต้อง
๒.    อธิบายถึงวิธีการแสดง ระบำ รำ ฟ้อนได้อย่างถูกต้อง
๓.     บอกประโยชน์ของการศึกษา การแสดง ระบำ รำ ฟ้อนได้อย่างถูกต้อง
๔.     อธิบายถึงวิธีการแสดง นาฏศิลป์พื้นบ้านได้อย่างถูกต้อง
๕.     บอกประโยชน์ของการศึกษานาฏศิลป์พื้นบ้านได้อย่างถูกต้อง
สาระการเรียนรู้

๑.   ระบำ รำ ฟ้อน
๒.  นาฏศิลป์พื้นบ้าน


ฟ้อนลาวดวงเดือน
จุดประสงค์การเรียนรู้

๑.     อธิบายถึงประวัติความเป็นมาของเพลงลาวดวงเดือน ได้อย่างถูกต้อง
๒.    อธิบายถึงลักษณะรูปแบบของการแสดงเพลงลาวดวงเดือนได้อย่างถูกต้อง
๓.    อธิบายถึงการแต่งกายของการแสดงเพลงลาวดวงเดือนได้อย่างถูกต้อง
๔.      อธิบายถึงเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบเพลงลาวดวงเดือนได้อย่างถูกต้อง
๕.    อธิบายถึงโอกาสที่แสดงเพลงลาวดวงเดือนได้อย่างถูกต้อง
๖.      ฝึกปฏิบัติการขับร้องประกอบเพลงลาวดวงเดือนในอัตราจังหวะ ๒ ชั้น ได้อย่างถูกต้อง
๗.    ฝึกปฏิบัติท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือนได้อย่างถูกต้อง
สาระการเรียนรู้
๑.  ประวัติความเป็นมาของฟ้อนลาวดวงเดือน
๒.  ลักษณะรูปแบบการแสดง
๓.    การแต่งกาย
๔.    เครื่องดนตรี
๕.    เนื้อร้องและทำนองเพลง
๖.   โอกาสที่แสดง
๗.    ท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือน