แผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้การสอนแบบปกติ
โรงเรียนวัดคู้บอน  สำนักงานเขตคลองสามวา  กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ  สาระนาฏศิลป์                            ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  เรื่อง ระบำ รำ ฟ้อน และนาฏศิลป์พื้นบ้าน  เวลา ๑ ชั่วโมง  (ชั่วโมงที่ ๑)   
สัปดาห์ที่        วันที่  ๗-๑๑ เดือน  มิถุนายน  พ.ศ.   ๒๕๕๓
********************************************************************
มาตรฐานการเรียนรู้
                ศ ๓.๑  :  เข้าใจและแสดงออกทางนาฎศิลป์อย่างสร้างสรรค์  วิเคราะห์  วิพากษ์  วิจารณ์  คุณค่าทางนาฎศิลป์  ถ่ายทอดความรู้สึกความคิดอย่างอิสระชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด
                ป. ๖/๓  :  แสดงนาฎศิลป์และละครง่ายๆ

สาระสำคัญ
                การแสดงนาฎศิลป์ไทยและนาฎศิลป์พื้นบ้าน เป็นการแสดงที่มีความสวยงามเป็นศิลปะที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทย  และเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ทุกคนร่วมมือกันอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป

สาระการเรียนรู้
                ความรู้ 
               ๑.  อธิบายความหมายของระบำ  รำ  ฟ้อนและนาฎศิลป์พื้นบ้านได้
                ๒.  อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบำ  ฟ้อน กับนาฎศิลป์พื้นบ้านได้
                ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด 
๓.  ปฏิบัติท่ารำรำวงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นนาฎศิลป์พื้นบ้านได้
                คุณลักษณะอันพึงประสงค์       
๔.  บอกประโยชน์และเห็นคุณค่าของการเรียนเรื่องระบำ  รำฟ้อนและนาฎศิลป์พื้นบ้าน


กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ                                   
๑.  นักเรียนนั่งเป็นแถวเรียงหน้ากระดาน  นั่งแยกชาย หญิง ทุกคนแสดงความเคารพครู
                ๒.  ครูนำแบบทดสอบก่อนเรียน ให้นักเรียนทำแบบทดสอบใช้เวลา  ๑๐  นาที
                ขั้นสอน                                
๓.  ครูเปิดวีดิทัศน์เกี่ยวกับ  ระบำ  รำ  ฟ้อน  และนาฎศิลป์พื้นบ้านให้นักเรียนดูและ 
      ซักถามว่า  การแสดงต่างๆ ที่นักเรียนได้ดูจากวีดิทัศน์มีคุณค่า  และควรอนุรักษ์ไว้
       หรือไม่อย่างไร  ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็น
                ๔.  ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๖ คน ชาย ๓ คน หญิง ๓ คน นั่งเป็นแถวเรียงหน้ากระดาน
       ครูแจกใบความรู้ ให้นักเรียนศึกษาเรื่อง เรื่อง ระบำ  รำ  ฟ้อน  และนาฎศิลป์พื้นบ้าน
      ทั้ง    ภาค  ครูอธิบาย  เนื้อหาเพิ่มเติมเมื่อนักศึกษามีข้อซักถาม
                ๕.  ให้นักเรียนเล่นเกมรำวงพาเพลิน โดยครูนำแผนภูมิเพลงรำวงพื้นบ้านเพลงเธอรำช่างน่าดู
       แล้วร้องเพลงให้นักเรียนฟัง ๑ เที่ยว ต่อจากนั้นนักเรียนฝึกร้องเพลงไปพร้อมกับครู
       เมื่อนักเรียนร้องเพลงได้แล้ว  จึงฝึกรำตามครูโดยครูสาธิตท่ารำให้นักเรียนฝึกตามชื่อ
      ใช้ท่ารำสอดสร้อยมาลาแปลง  และเดินย่ำเท้าไปตามจังหวะ
๖.      ครูรำนำนักเรียนรำตาม  เมื่อนักเรียนรำได้แล้วเริ่มเล่นเกม  โดยจัดแถวเป็นวงกลมให้นักเรียนรำเป็นคู่ชาย/หญิง ใช้กลุ่มเดิม  ครูเปิดเพลงนักเรียนทุกคนปฏิบัติท่ารำ เมื่อครูหยุดเพลง  ให้นักเรียนรำท่าทางค้างไว้  นักเรียนคนใดที่ไม่หยุดนิ่งจะต้องโดนตอบคำถาม  เมื่อนักเรียนตอบคำถามแล้ว  ถ้าตอบผิดจะต้องออกจากวงครูจะเฉลยคำตอบ  แล้วเริ่มเล่นเกมเปิดเพลงรำต่อไป  ถ้าตอบถูกก็รำวงเล่นเกมต่อไปได้เหมือนเดิม  ปฏิบัติการเล่นเกมประมาณ  ๑๐  นาที
                ขั้นทบทวน                          
๗.  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียน  โดยเขียนเป็นแผนผังความคิดบนกระดาน 
ซึ่งสรุปความรู้เกี่ยวกับ  ระบำ  รำ  ฟ้อน  ความสัมพันธ์ระหว่างนาฎศิลป์ไทยและ 
นาฎศิลป์พื้นบ้าน  ลักษณะเด่นของการแสดงแต่ละภาคของนาฎศิลป์พื้นบ้าน
                ๘.  นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนใช้เวลา  ๑๐  นาที
                ๙.  นักเรียนทุกคน  แสดงความเคารพครู  ก่อนเดินแถวกลับห้องเรียน



กระบวนการวัดผลและประเมินผล  (ระบุเครื่องมือ/เกณฑ์การประเมิน)
                ๑.  สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล  ใช้แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                ๒.  สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม  ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมในการร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น
                ๓.  ประเมินความรู้  ใช้แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน

แหล่งการเรียนรู้
                ๑.  หอสมุดแห่งชาติ
                ๒.  ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
                ๓.  ห้องสมุดโรงเรียน
                ๔.  ห้องนาฎศิลป์

สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้
                ๑.  ใบความรู้
                ๒.  รูปภาพ
                ๓.  วีดิทัศน์ระบำ  รำ  ฟ้อน  และนาฎศิลป์พื้นบ้าน
                ๔.  แผนภูมิเพลง
                ๕.  แถบบันทึกเสียง
                ๖.  เครื่องบันทึกเสียง
                ๗.  แบบทดสอบ

แผนการจัดการเรียนรู้การสอนแบบปกติ
โรงเรียนวัดคู้บอน  สำนักงานเขตคลองสามวา  กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ  สาระนาฏศิลป์                            ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  เรื่อง ฟ้อนลาวดวงเดือน                                        เวลา ๙ ชั่วโมง  (ชั่วโมงที่ ๒)   
สัปดาห์ที่       วันที่  ๑๔-๑๘  เดือน  มิถุนายน พ.ศ.   ๒๕๕๓
********************************************************************

มาตรฐานการเรียนรู้
                ศ. ๓.๑ :  เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์  วิเคราะห์  วิพากษ์  วิจารณ์  คุณค่าทางนาฏศิลป์  ถ่ายทอดความรู้สึก  ความคิดอย่างอิสระ  ชื่นชม  และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด
                ป. ๖/๓  :  แสดงนาฏศิลป์และละครง่ายๆ

สาระสำคัญ
                การแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้าน  เป็นการแสดงที่มีความสวยงาม  เป็นศิลปที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทยและเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ทุกคนร่วมมือกันอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป

สาระการเรียนรู้
                ความรู้
๑.  อธิบายความหมายของเพลงได้
๒. อธิบายประวัติความเป็นมาของเพลงได้
                ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด 
๓.  ขับร้องเพลงลาวดวงเดือนได้
                คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๔.  บอกประโยชน์  และคุณค่าของการขับร้องเพลงไทยได้

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ                  
๑.  นักเรียนนั่งเป็นแถวเรียงหน้ากระดาน  นั่งแยกชาย หญิงแสดงความเคารพครู
                ๒.  ครูนำแบบทดสอบก่อนเรียน  ให้นักเรียนทำแบบทดสอบภายในเวลา  ๑๐  นาที
                ขั้นสอน                
๓.  ครูให้นักเรียนฟังเพลงท่วงทำนองพื้นเมือง  ภาคเหนือแล้วให้นักเรียนช่วยกัน
      วิเคราะห์ว่าเป็นเพลงพื้นเมืองประเภทใด
                ๔.  ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปเกี่ยวกับลักษณะเด่นของท่วงทำนองเพลง
                    ภาคเหนือ  ว่ามีความเด่นในเรื่องของจังหวะ  เครื่องดนตรีท่วงทำนองแบบใด
.  ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาประวัติความเป็นมาของเพลงลาวดวงเดือน
      วงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการขับร้อง  และโอกาสที่บรรเลงหรือแสดง
๖.  นักเรียนอ่านเพลงลาวดวงเดือนจากแผนภูมิเนื้อเพลง  ช่วยกันอภิปราย                 
                      สรุปความหมายของเนื้อเพลง 
๗.  ฟังครูร้องเพลงลาวดวงเดือนพร้อมสังเกต  การตีฉิ่ง  ประกอบการร้อง
                ๘.  ครูอธิบายการตีฉิ่ง ฉับตรงตามคำร้อง
                ๙.   ฝึกทักษะการขับร้องเพลงโดย  ครูให้นักเรียนฟังเพลงลาวดวงเดือนจากการเปิด
      แถบบันทึกเสียง เพื่อให้รู้จังหวะ และจำบทร้องได้
๑๐.ครูให้นักเรียนฟังเพลงอีกครั้งและปรบมือประกอบจังหวะ  เพลงลาวดวงเดือน โดยดู
      แผนภูมิบนกระดานที่มีเครื่องหมายฉิ่ง- ฉับ  กำกับจังหวะประกอบไปด้วย
๑๑.ให้นักเรียนฝึกร้องเพลงคลอไปกับเสียงเพลงที่เปิดจากแถบบันทึกเสียง 
       พร้อมทั้งปรบมือทำจังหวะประกอบไปด้วย  1  เที่ยว                     
                ๑๒.ครูร้องนำทีละวรรค  นักเรียนฝึกร้องตาม  พร้อมทั้งปรบมือประกอบจังหวะ
       ฉิ่ง ฉับไปด้วยจนจบเพลง 
๑๓. ครูและนักเรียนร้องเพลงร่วมกัน
                ๑๔. ครูเปิดแถบบันทึกเสียง  นักเรียนฝึกร้องคลอไปพร้อมกับเสียงเพลงที่เปิด
                     จากแถบบันทึกเสียง  พร้อมทั้งปรบมือประกอบจังหวะฉิ่ง ฉับ
๑๕.ครูให้นักเรียนฝึกร้องเองพร้อมกันทุกคนโดยปรบมือประกอบจังหวะฉิ่ง ฉับ                   1  เที่ยว   ครูแนะนำข้อบกพร่อง
               

ขั้นทบทวน
๑๖.     แบ่งกลุ่มชาย หญิง  กลุ่มละ  6 8  คน  ฝึกร้องเพลงและทำจังหวะ ด้วยการปรบมือ
ครูแนะนำนักเรียนกลุ่มร้องและทำจังหวะไม่ถูกต้อง
                ขั้นสรุป                
๑๗. นักเรียนสรุปความรู้ลงใบงาน
               
กระบวนการวัดผลและประเมินผล 
                ๑.  สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล  ใช้แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                ๒.  สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม  ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมในการร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น
                ๓.  ประเมินความรู้  ใช้แบบทดสอบ

แหล่งการเรียนรู้
                ๑.  หอสมุดแห่งชาติ
                ๒.  ห้องสมุดโรงเรียน
                ๓.  http: www.anurakthai.com/thaimusical gameland.band/1.asp

สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้
                ๑.  เครื่องบันทึกเสียง
                ๒.  แถบบันทึกเสียงเพลงพื้นเมืองภาคเหนือ  และเพลงลาวดวงเดือน
                ๓.  แผนภูมิเพลงลาวดวงเดือน
                ๔.  ฉิ่ง
                ๕.  ใบความรู้


แผนการจัดการเรียนรู้การสอนแบบปกติ
โรงเรียนวัดคู้บอน  สำนักงานเขตคลองสามวา  กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ  สาระนาฏศิลป์                            ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  เรื่อง ฟ้อนลาวดวงเดือน                                        เวลา ๙ ชั่วโมง  (ชั่วโมงที่ ๔)   
สัปดาห์ที่       วันที่  ๒๘-๓๐/๑-๒  เดือน  มิถุนายน/กรกฎาคม พ.ศ.   ๒๕๕๓
********************************************************************

มาตรฐานการเรียนรู้
                ศ. ๓.๑ :  เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์  วิเคราะห์  วิพากษ์  วิจารณ์  คุณค่านาฏศิลป์  ถ่ายทอดความรู้สึก  ความคิดอย่างอิสระ  ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด
                ป. ๖/๓ :  แสดงนาฏศิลป์และละครง่ายๆ

สาระสำคัญ
                การแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้าน  เป็นการแสดงที่มีความสวยงาม  เป็นศิลปที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทยและเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป

สาระการเรียนรู้
                ความรู้    
๑.  รู้และเข้าใจเรื่องการฟ้อนลาวดวงเดือน
                ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด
๒.  ปฏิบัติท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือนตั้งแต่คำร้องโอ้ละหนอดวงเดือนเอย 
      ถึงคำร้องรักเจ้าดวงเดือนเอยและท่ารับท่าที่ 
                คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๓.  เห็นคุณค่า  และภาคภูมิใจในการสืบทอดนาฏศิลป์พื้นบ้านของไทย


กิจกรรมการเรียนรู้
                ขั้นนำ                  
๑.  นักเรียนนั่งเป็นแถวเรียงหน้ากระดานนั่งแยก ชาย / หญิง แสดงความเคารพครูผู้สอน
     นั่งปฏิบัติท่านั่งดัดมือ  นั่งดัดแขน  ยืนดัดขา แล้วยืนปฏิบัติท่ารำท่าออกที่เรียนไปแล้ว
     ในสัปดาห์ที่แล้ว  โดยใช้การรำนับจังหวะ  ปากเปล่า  ไม่เปิดเทป
                ขั้นสอน              
๒.  ครูให้นักเรียนร้องเพลงลาวดวงเดือน    เที่ยวพร้อมทั้งทำจังหวะโดยการปรบมือ
      แทนการตีฉิ่งประกอบการร้อง
                ๓.  ครูอธิบายพร้อมสาธิตนาฏยศัพท์  และภาษาท่ารำที่ใช้เฉพาะในช่วงที่รำ
                ๔.  นักเรียนทุกคนปฏิบัติท่ารำท่านาฏยศัพท์และภาษาท่ารำตามที่ครูสาธิตพร้อมกัน
๕.  นักเรียนแบ่งกลุ่ม  กลุ่มละ    คน  ชาย    คน  หญิง    คน  ยืนเป็นคู่เป็นแถว
      เรียงหน้ากระดาน
.  ครูสาธิตท่าทางการใช้มือประกอบการร้องปากเปล่าในคำร้องโอ้ละหนอดวงเดือนเอย
      ถึงคำร้องรักเจ้าดวงเดือนเอย  นักเรียนฝึกตาม  ฝึกตัวนางก่อน  และฝึกตัวพระ
      ฝึกปฏิบัติท่ารำซ้ำ
                ๗.  ครูสาธิตท่าทางการใช้เท้าประกอบการร้องปากเปล่าในคำร้องโอ้ละหนอดวงเดือนเอย
ถึงคำร้องรักเจ้าดวงเดือนเอย  นักเรียนฝึกตาม  ฝึกตัวนางก่อนแล้วฝึกตัวพระ  ฝึกปฏิบัติท่ารำซ้ำๆ
๘. ฝึกปฏิบัติพร้อมกันทั้งมือและเท้า  ให้นักเรียนใช้ปากร้องเพลงประกอบการรำ 
ฝึกปฏิบัติท่ารำซ้ำๆ  จนกระทั่งรำเองได้  โดยมีครูคอยจับท่ารำ  นักเรียนที่ปฏิบัติไม่ได้ ให้ถูกต้องสวยงาม
                .  ครูเปิดเพลงตั้งแต่ท่าออกถึงคำร้องรักเจ้าดวงเดือนเอย นักเรียนฝึกท่ารำเป็นคู่ปฏิบัติ
    ซ้ำๆ  กันหลายครั้ง  เมื่อครูสังเกตว่านักเรียนรำเองได้แล้วจึงสาธิตท่ารับท่าที่    คือท่า
     สอดสร้อยมาลาแปลง  โดยฝึกมือก่อนและฝึกเท้า
                ๑๐. ครูเปิดเพลงเฉพาะท่ารับท่าที่    นักเรียนฝึกท่ารำตามเพลงฝึกซ้ำๆ  หลายครั้ง
                ๑๑.  แบ่งกลุ่ม  (กลุ่มเดิม)  ฝึกซ้อมตั้งแต่ท่าออก  ถึงท่ารับ  ท่าที่    ท่าสอดสร้อยมาลาแปลง
      โดยมีครูคอยจับท่ารำนักเรียนที่รำไม่ได้ไม่ถูกต้องมาแก้ไขท่าทางให้ถูกต้องสวยงาม
       ทั้งนี้นักเรียนฝึกท่ารำโดยร้องเพลงเอง
                ขั้นทบทวน          
๑๒.  นักเรียนแต่ละกลุ่มรำตั้งแต่ท่าออกถึงท่ารับท่าที่  ๑โดยครูเปิดเพลงและคอยสังเกต      
                      ช่วยเหลือนักเรียนที่รำไม่ถูกต้อง  โดยสลับกันรำจนครบทุกกลุ่ม
                ขั้นสรุป                
๑๓.  นักเรียนร่วมกันสรุปถึงคุณค่าและความภาคภูมิใจในการเรียนฟ้อนลาวดวงเดือนใส่
        ใบงาน
๑๔. นักเรียนแสดงความเคารพครู  เมื่อหมดเวลาเรียนเดินแถวกลับชั้นเรียน

กระบวนการวัดผลและประเมินผล 
                ๑.  สังเกตพฤติกรรมการเรียน ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม (ในชั้นเรียน)
                ๒.  สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมในการร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น

แหล่งการเรียนรู้
                ๑.  หอสมุดแห่งชาติ
                ๒.  ห้องสมุดคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                ๓.  ห้องสมุดโรงเรียน
                ๔.  https//: www.thaidances.com

สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้
                ๑.  แถบบันทึกเสียงเพลงลาวดวงเดือน
                ๒.  เครื่องบันทึกเสียง
                ๓.  ใบงาน

แผนการจัดการเรียนรู้การสอนแบบปกติ
โรงเรียนวัดคู้บอน  สำนักงานเขตคลองสามวา  กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ  สาระนาฏศิลป์                            ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  เรื่อง ฟ้อนลาวดวงเดือน                                        เวลา ๙ ชั่วโมง  (ชั่วโมงที่ ๕)   
สัปดาห์ที่       วันที่  ๕-๙  เดือน  กรกฎาคม พ.ศ.   ๒๕๕๓
********************************************************************
มาตรฐานการเรียนรู้
                ศ. ๓.๑  :  เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์  วิเคราะห์  วิพากษ์  วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึก  ความคิดอย่างอิสระ  ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด
                ป. ๖/๓  :  แสดงนาฏศิลป์และละครง่ายๆ

สาระสำคัญ
                การแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้าน  เป็นการแสดงที่มีความสวยงาม  เป็นศิลปที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทย  และเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ทุกคนร่วมมือกันอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป

สาระการเรียนรู้
                ความรู้ 
๑.  รู้และเข้าใจเรื่องการฟ้อนลาวดวงเดือน
                ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด    
๒.  สอบปฏิบัติท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือนตั้งแต่ท่าออกถึงท่ารับท่าที่ 1
                คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 
๓.  เห็นคุณค่าและภาคภูมิใจในการสืบทอดนาฏศิลป์พื้นบ้านของไทย




กิจกรรมการเรียนรู้
                ขั้นนำ                   
๑.      นักเรียนนั่งเป็นแถวเรียงหน้ากระดาน  นั่งแยกชาย หญิง  แสดงความเคารพครูผู้สอน ปฏิบัติท่านั่งดัดมือ  นั่งดัดแขน  ยืนดัดขา
                ๒.  ครูและนักเรียนร้องเพลงพร้อมกับปรบมือตามจังหวะประกอบการร้องเพลง
                ขั้นสอน                
๓.  นักเรียนแบ่งกลุ่ม (กลุ่มเดิม) กลุ่มละ ๖ คน ชาย ๓ คน หญิง ๓ คน ยืนเป็นแถว
      เรียงหน้ากระดาน  ยืนเป็นคู่ชาย หญิง  ทบทวนท่ารำและร้องเพลงประกอบการรำ
      ตั้งแต่ท่าออกถึงท่ารับท่าที่    โดยมีครูแก้ไขท่ารำให้ถูกต้องงดงาม
                ขั้นทบทวน          
๔. ครูเปิดเพลงลาวดวงเดือน  ให้นักเรียนรำตามเพลงโดยไม่ต้องร้องเพลงเองเพื่อให้มี
     สมาธิเพียงการรำได้อย่างถูกต้อง ให้นักเรียนรำตามเพลงจากเครื่องบันทึกเสียงทีละกลุ่ม
๕.  ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสลับกันออกมาปฏิบัติท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือนประกอบเพลง
      ตั้งแต่ท่าออกถึงท่ารับท่าที่    โดยมีเพื่อนต่างกลุ่มร่วมประเมินผลงาน  เพื่อให้รู้จัก
      สังเกต เปรียบเทียบความแตกต่างได้
                ขั้นสรุป                
๖.  ครูเปิดเพลงทดสอบการรำของนักเรียนแต่ละกลุ่ม  ตั้งแต่ท่าออกถึงท่ารับท่าที่ 
๗.  ครูชมเชยและแนะนำข้อบกพร่องพร้อมทั้งให้นักเรียนทุกคนหมั่นไปฝึกซ้อมการร้อง    
      ประกอบการรำในเวลาว่าง  นักเรียนแสดงความเคารพครู  ก่อนจะเดินแถวกลับชั้นเรียน

กระบวนการวัดผลและประเมินผล 
                ๑.  สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม  (ในชั้นเรียน)
                ๒.  การนำเสนอผลงาน แบบวัดทักษะการปฏิบัติการฟ้อนลาวดวงเดือน

แหล่งการเรียนรู้
                ๑.  เครื่องบันทึกเสียง
                ๒.  แถบบันทึกเสียงเพลงลาวดวงเดือน 
                ๓.  ฉิ่ง กรับ ไม้เคาะจังหวะ


สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้
                ๑.  ห้องสมุดโรงเรียน
                ๒.  ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
                ๓.  เว็บไซต์ของสถาบันเกี่ยวกับนาฏศิลป์
                ๔.  https://www.thaidances.com

แผนการจัดการเรียนรู้การสอนแบบปกติ
โรงเรียนวัดคู้บอน  สำนักงานเขตคลองสามวา  กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ  สาระนาฏศิลป์                            ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  เรื่อง ฟ้อนลาวดวงเดือน                                        เวลา ๙ ชั่วโมง  (ชั่วโมงที่ ๖)   
สัปดาห์ที่       วันที่  ๑๒-๑๖  เดือน  กรกฎาคม พ.ศ.   ๒๕๕๓
********************************************************************
มาตรฐานการเรียนรู้
                ศ ๓.๑  :  เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลปอย่างสร้างสรรค์  วิเคราะห์  วิพากษ์  วิจารณ์  คุณค่านาฏศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึก  ความคิดอย่างอิสระ  ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด
                ป. ๖/๓  :  แสดงนาฏศิลป์และละครง่ายๆ

สาระสำคัญ
                การแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้านเป็นการแสดงที่มีความสวยงาม  เป็นศิลปที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทย  และเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ทุกคน  ร่วมมือกันอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป

สาระการเรียนรู้
                ความรู้      
๑.  รู้และเข้าใจเรื่องการฟ้อนลาวดวงเดือน
                ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด 
๒.  ปฏิบัติท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือน ตั้งแต่คำร้องขอลาแล้วเจ้าแก้วโกสุม  ท่ารับท่าที่   
      และถึงเนื้อร้อง พี่นี้รักเจ้าหนอขวัญตาเรียม
                คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๓.  เห็นคุณค่าและภาคภูมิใจในการสืบทอดนาฏศิลป์พื้นบ้านของไทย



กิจกรรมการเรียนรู้
                ขั้นนำ                                   
๑.      นักเรียนนั่งเป็นแถวเรียงหน้ากระดาน นั่งแยกชาย หญิง แสดงความเคารพครูผู้สอน
ปฏิบัติท่านั่งดัดมือ  นั่งดัดแขน ยืนดัดขา  แล้วจัดกลุ่ม  กลุ่มละ ๖ คน (กลุ่มเดิม)  จับคู่หญิงชาย  กลุ่มละ    คู่  ยืนเรียงแถวหน้ากระดาน  ทบทวนท่ารำที่เรียนไปแล้วโดยครูเปิดเพลง  ให้นักเรียนปฏิบัติท่ารำตั้งแต่ท่าออกถึงท่ารับท่าที่ 
                ขั้นสอน                                
๒.    ครูอธิบายนาฏยศัพท์และภาษาท่ารำ  ที่ใช้เฉพาะช่วงที่ใช้รำโดยครูสาธิตและนักเรียน
ปฏิบัติตามไปพร้อมกับครู 
๓.     ครูและนักเรียนปฏิบัติท่ารำประกอบคำร้องตั้งแต่ขอลาแล้วเจ้าแก้วโกสุมท่ารับท่า   
ถึงคำร้องพี่นี้รักเจ้าหนอขวัญตาเรียม  โดยแยกฝึกตามขั้นตอน  เช่น  ฝึกการใช้มือประกอบเพลงร้อง  ฝึกการใช้เท้าเดินตามจังหวะเพลงร้องอย่างถูกต้อง
                ๔.  ฝึกปฏิบัติพร้อมกันทั้งมือและเท้าพร้อมร้องเพลงโดยให้กายใจสมองสัมพันธ์กัน
                                -  กาย  ได้แก่  มือร่ายรำ  เท้าเดิน  ปากร้องเพลง
                                -  ใจ  ได้แก่  มีความตั้งใจ  ทำความเข้าใจกับบทเรียน  พยายามปรับปรุงแก้ไขท่า
   รำให้ถูกต้อง  งดงามมีสมาธิในการใช้อวัยวะให้สัมพันธ์กันได้
                                -  สมอง  ได้แก่  ฝึกการคิดค้นหาหลักในการจำเป็นของตนเอง
                ขั้นทบทวน                          
๕.  แบ่งกลุ่มปฏิบัติโดยครูเปิดเพลงลาวดวงเดือน  ให้นักเรียนรำตามเพลงโดยไม่ต้อง
      ร้องเพลงเอง  เพื่อให้มีสมาธิเพียงการรำได้อย่างถูกต้อง
                ขั้นสรุป                
๖.  ให้นักเรียนรำตามเพลงจากเครื่องบันทึกเสียงทีละกลุ่ม  โดยเพื่อนต่างกลุ่มที่ไม่ได้
     รำเป็นผู้ประเมินผล  เพื่อให้รู้จักสังเกตเปรียบเทียบความแตกต่างได้
๑.      แนะนำให้นักเรียนกลับไปฝึกซ้อมท่ารำในเวลาว่าง  นักเรียนแสดงความเคารพครู
ก่อนเดินแถวกลับห้องเรียน

กระบวนการวัดผลและประเมินผล 
                ๑.  สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม  (ในชั้นเรียน)
                ๒.  สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
แหล่งการเรียนรู้
                ๑.  ห้องสมุดโรงเรียน
                ๒.  ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
                ๓.  เว็บไซต์ของสถาบันเกี่ยวกับนาฏศิลป์
                ๔.  https://www.thaidances.com

สื่ออุปกรณ์การเรียนรู้
                ๑.  เครื่องบันทึกเสียง  พร้อมแถบบันทึกเสียง  เพลงลาวดวงเดือน
                ๒.  ฉิ่ง ไม้เคาะจังหวะ


แผนการจัดการเรียนรู้การสอนแบบปกติ
โรงเรียนวัดคู้บอน  สำนักงานเขตคลองสามวา  กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ  สาระนาฏศิลป์                            ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  เรื่อง ฟ้อนลาวดวงเดือน                                        เวลา ๙ ชั่วโมง  (ชั่วโมงที่ ๘)   
สัปดาห์ที่   ๑๐    วันที่  ๒๖-๓๐  เดือน  กรกฎาคม พ.ศ.   ๒๕๕๓
********************************************************************
มาตรฐานการเรียนรู้
                ศ ๓.๑  :  เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลปอย่างสร้างสรรค์  วิเคราะห์  วิพากษ์  วิจารณ์  คุณค่านาฏศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึก  ความคิดอย่างอิสระ  ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด
                ป. ๖/๓  :  แสดงนาฏศิลป์และละครง่ายๆ

สาระสำคัญ
                การแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้านเป็นการแสดงที่มีความสวยงาม  เป็นศิลปที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทย  และเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ทุกคน  ร่วมมือกันอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป

สาระการเรียนรู้
                ความรู้      
๑.  รู้และเข้าใจเรื่องการฟ้อนลาวดวงเดือน
                ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด       
๑.      ปฏิบัติท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือนตั้งแต่คำร้องหอมกลิ่นคล้ายคล้ายเจ้าสูของเรียมเอย 
ถึงคำร้องเนื้อหอมทรามเชยเอยเราละหนอและท่ารับท่าจบ
                คุณลักษณะอันพึงประสงค์      
๓.  ใฝ่เรียนรู้  มุ่งมั่นในการทำงาน  และรักความเป็นไทย



กิจกรรมการเรียนรู้
                ขั้นนำ                                   
๑.      นักเรียนนั่งเป็นแถวเรียงหน้ากระดาน นั่งแยกชาย-หญิง แสดงความเคารพครูผู้สอน
ปฏิบัติท่านั่งดัดมือ  นั่งดัดแขน  ยืนดัดขา
๒.    ทบทวนท่ารำที่ได้เรียนไปแล้ว  โดยครูเปิดเพลงให้นักเรียนปฏิบัติท่ารำตั้งแต่ท่าออก
ถึงคำร้อง  หอมกลิ่นเกสรเกสรดอกไม้รำพร้อมกันทุกคน
                ขั้นสอน                                
๓.  ครูอธิบายนาฏยศัพท์และภาษาท่ารำที่ใช้เฉพาะช่วงที่รำ  โดยสาธิตและให้นักเรียน
      ปฏิบัติตาม
                ๔.  แบ่งกลุ่ม  (กลุ่มเดิม)  กลุ่มละ  6  คน  ชาย  3  คน  หญิง  3  คน  แยกฝึกพระนาง
                ๕.  ครูสาธิตและนักเรียนปฏิบัติตาม  โดยปฏิบัติท่ารำประกอบคำร้องตั้งแต่คำร้องหอม
      กลิ่นคล้ายคล้ายเจ้าสูของเรียมเอยถึงท่ารับท่าจบเพลงโดยแยกฝึกตามขั้นตอน  เช่น 
      ฝึกการใช้มือประกอบเพลงร้องฝึกการใช้เท้าเดินตามเพลงร้องอย่างถูกต้อง
                ๖.  ฝึกปฏิบัติพร้อมกันทั้งมือ  และเท้าพร้อมร้องเพลง  โดยให้กายสมองสัมพันธ์กัน
                                -  กาย  ได้แก่  มือร่ายรำ  เท้าเดิน  ปากร้องเพลง
                                -  ใจ  ได้แก่  มีความตั้งใจ  ทำความเข้าใจกับบทเรียน  พยายามปรับปรุงแก้ไข
   ท่ารำ  ให้ถูกต้อง  งดงาม  มีสมาธิในการใช้อวัยวะให้สัมพันธ์กันได้
                                -  สมอง  ได้แก่  ฝึกการคิดค้นหาหลักในการจำเป็นของตนเอง
                ขั้นทบทวน                          
๗.  แบ่งกลุ่มปฏิบัติ  กลุ่มเดิม  ฝึกรำให้เป็นคู่ชายหญิง  โดยครูเปิดเพลงเพลงลาวดวงเดือน 
      ให้นักเรียนรำตามเพลงโดยไม่ต้องร้องเพลงเองเพื่อให้มีสมาธิเพียงการรำได้อย่าง
      ถูกต้อง
๑.      ให้นักเรียนรำตามเพลงจากเครื่องบันทึกเสียงทีละกลุ่มโดยให้เพื่อนต่างกลุ่มที่ไม่ได้รำเป็นผู้ประเมินผล  เพื่อให้รู้จักสังเกตเปรียบเทียบความแตกต่างได้

กระบวนการวัดผลและประเมินผล
                ๑.  สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม  (ในชั้นเรียน)
                ๒.  สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

แหล่งการเรียนรู้
                ๑.  ห้องสมุดโรงเรียน
                ๒.  ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
                ๓.  เว็บไซต์ของสถาบันเกี่ยวกับนาฏศิลป์
                ๔.  https://www.thaidances.com

สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้
                ๑.  เครื่องบันทึกเสียง
                ๒.  แถบบันทึกเสียงเพลงลาวดวงเดือน
                ๓.  ฉิ่ง 


แผนการจัดการเรียนรู้การสอนแบบปกติ
โรงเรียนวัดคู้บอน  สำนักงานเขตคลองสามวา  กรุงเทพมหานคร
กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ  สาระนาฏศิลป์                            ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  เรื่อง ฟ้อนลาวดวงเดือน                                        เวลา ๙ ชั่วโมง  (ชั่วโมงที่ ๙)   
สัปดาห์ที่   ๑๑    วันที่  ๒-๖  เดือน  สิงหาคม  พ.ศ.   ๒๕๕๓
********************************************************************
มาตรฐานการเรียนรู้
                ศ ๓.๑  :  เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลปอย่างสร้างสรรค์  วิเคราะห์  วิพากษ์  วิจารณ์  คุณค่านาฏศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึก  ความคิดอย่างอิสระ  ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด
                ป. ๖/๓  :  แสดงนาฏศิลป์และละครง่ายๆ

สาระสำคัญ
                การแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นบ้านเป็นการแสดงที่มีความสวยงาม  เป็นศิลปที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทย  และเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ทุกคน  ร่วมมือกันอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป

สาระการเรียนรู้
                ความรู้      
๑.  รู้และเข้าใจเรื่องการฟ้อนลาวดวงเดือน
                ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด      
๒.  สอบปฏิบัติท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือนทั้งเพลง
                คุณลักษณะอันพึงประสงค์       
๓.  ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงานและรักความเป็นไทย




กิจกรรมการเรียนรู้
                ขั้นนำ                                   
๑.      นักเรียนนั่งเป็นแถวเรียงหน้ากระดาน นั่งแยกชาย หญิง แสดงความเคารพครูผู้สอน
ปฏิบัติท่านั่งดัดมือ  นั่งดัดแขน  ยืนดัดขา
                ขั้นสอน                                
๒.    นักเรียนแบ่งกลุ่ม (กลุ่มเดิม) กลุ่มละ ๖ คน ชาย    คน  หญิง    คน  รำคู่พระนาง
ปฏิบัติท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือนตั้งแต่ท่าออกจนจบเพลงรำพร้อมกันโดยครูเปิดเพลง  และคอยแนะนำจับท่ารำให้กับนักเรียน    เที่ยว
                ๓.  นักเรียนแต่ละกลุ่มสลับกันสอบปฏิบัติท่ารำฟ้อนลาวดวงเดือน
                ขั้นสรุป                                
๔.  นักเรียนนั่งแยกชาย หญิง เหมือนเดิมทำแบบทดสอบหลังเรียนใช้เวลา  ๑๐  นาที

กระบวนการวัดผลและประเมินผล 
                ๑.  สังเกตพฤติกรรมการร่วมกิจกรรมกลุ่ม - แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
                ๒.  การนำเสนอผลงาน แบบวัดทักษะปฏิบัติการฟ้อนลาวดวงเดือน
                ๓.  ประเมินความรู้ แบบทดสอบ

แหล่งการเรียนรู้/สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้
                ๑.  เครื่องบันทึกเสียงพร้อมแถบบันทึกเสียง  เพลงลาวดวงเดือน
                ๒.  ฉิ่ง